รถยนต์

ส่องความเปรี้ยวความเท่ของเครื่องยนต์วัยรุ่นในยุค90

0 Comments

5รถซิ่งยุค90s

ถ้าพูดถึงรถซิ่งยอดนิยมในสมัยนี้ก็คงไม่พ้นฮอนด้าแจ๊ส ฮอนด้าบีโอ้แต่เคยสงสัยกันไหมว่า คนยุค90เค้าขับรถซิ่งรุ่นอะไรกันบ้างวันนี้เราจะพามาชม5รถซิ่งในยุค 90

เท่กว่าใครในรุ่น

เริ่มกันด้วยคันแรก Nissan Cefiro A31 รถคันนี้มีจุดเด่นตรงที่การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ (ในสมัยนั้น)มาลงในรถ เช่น ระบบการเปิดไฟหน้า และควบคุมแสงหน้าปัดอัตโนมัติ โดยมีตัวรับแสงคอยจับปริมาณแสง และส่งข้อมูลไปที่ระบบอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อมืดลง ไฟจะสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ระบบจับสภาพพื้นถนน เป็นต้น

หลังจากที่ยกเลิกการผลิตไปแล้วนั้น A31 ยังคงได้รับความนิยมมากมาย รวมทั้งในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นรถขับหลังที่มีรูปทรงสปอร์ต ทันสมัยที่สุดรุ่นหนึ่ง และที่สำคัญคือมีราคาที่ถูกลงมาก เมื่อเทียบกับรถในระดับเดียวกัน กลุ่มวัยรุ่นและค่ายรถแข่งต่าง ๆ นิยมรถรุ่นนี้เพราะว่ามันเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลัง ซึ่งสามารถนำมาใช้สำหรับการแข่งขันยอดนิยมอย่าง Drift ได้ เนื่องจากรถขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นอื่นๆ จะเป็นรถที่มีราคาแพงหลายเท่าตัว Cefiro A31 จึงเป็นตัวเลือกแรก ๆ

สำหรับกีฬาชนิดนี้ นอกจากการแข่งดริฟท์แล้ว ยังนิยมใช้ในการแข่งขัน Drag ด้วย เนื่องจาก A31 มีห้องเครื่องขนาดใหญ่ สามารถวางเครื่อง 6 สูบแถวเรียงหรือเครื่องแบบ V8 ได้อย่างสบายๆ ส่วนมากนิยมวางเครื่องยนต์ 2JZ ของโตโยต้ากัน หรือไม่ก็ตรงยี่ห้อหน่อยเป็นเครื่อง RB26 ของนิสสัน ต้องยอมรับครับว่าเครื่องยนต์ 2 ตัวนี้ยอดฮิตทีเดียวเพราะโมดิฟายง่าย แรงอะไหล่ เยอะ2.  Honda Civic EG3Dฮอนด้า ซิวิค โฉมที่ 5 โฉมนี้ มีการผลิตมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2538

มีตัวถัง 3 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู, hatchback 3 ประตู และแบบซีดาน 4 ประตู มีระบบเกียร์ 2 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด มีเครื่องยนต์ 2 ขนาด คือ 1.3, 1.5, 1.6 และ 1.8 ลิตร พ่อค้ารถในไทย นิยมเรียกโฉมนี้ว่า “โฉมเตารีด” โฉมนี้ เป็นโฉมที่รูปลักษณ์ภายนอกของซีวิคเริ่มเปลี่ยนไป เพราะ 4 โฉมแรก ภายนอกจะมีลักษณะตรง แล้วหักเป็นมุมๆ ทำให้มีลักษณะเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆ แต่โฉมนี้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นความโค้งมน และโฉมจากนี้ จะเพิ่มความโค้งมนมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงโฉมล่าสุด ที่มีความโค้งมนมาก

และมาต่อกันด้วยรถรุ่น Mitsubishi LANCER E-CARโฉมนี้ เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมมากในประเทศไทย รุ่นนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2534ถึง2539 วงการรถตั้งชื่อโฉมนี้ว่า โฉม E-CAR ซึ่งมีการนำเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก มีความทนทาน แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 22 ปี ก็ยังสามารถเห็นแลนเซอร์โฉมนี้ได้ทั่วไปตามท้องถนน ในประเทศไทย แลนเซอร์โฉมนี้ มีทั้งการใช้เป็นรถส่วนตัว รถครอบครัว และแต่งเป็นรถสปอร์ต ต่อมาเมื่อปี 2538 Lancer E-CAR ได้ยกเลิกการจำหน่าย 1.3 และ 1.8 เปลื่ยนระบบจ่ายเชี้อเพลิงในรุ่น 1.5 จากคาร์บูเรเตอร์เป็นระบบหัวฉีด ECi-MULTI และนำรุ่น 1.6 มาประกอบในประเทศ หลังจากนั้นมีการปรับโฉมเล็กน้อยในรุ่น 1.5 โดยขอบประตูจะเป็นสีเดียวกับตัวรถ ซึ่งของเดิมเป็นสติกเกอร์สีดำ เปลื่ยนกระจังหน้าใหม่แบบซี่ และเพิ่มไฟเบรกดวงที่สามในห้องโดยสาร และในรุ่น 1.6 มีการเปลื่ยนล้อแม็กซ์เป็นขนาด 14 นิ้ว เพิ่มไฟตัดหมอกหน้า และสปอยเลอร์หลัง เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และปรับเปลื่ยนฝาครอบชุดดรัมเบรกหลัง E-Car

นับจากปี 2538 เป็นต้นมา เปลื่ยนคอมเพรสเซอร์แอร์ที่ใช้น้ำยาเบอร์ R134A ตามนโยบายภาครัฐที่ต้องการให้ลดการใช้น้ำยาแอร์แบบ R12 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2539 Lancer E-CAR ได้ปรับโฉมโดยเปลื่ยนล้อแม็กซ์ลายใหม่ เปลื่ยนกันชนให้มีลักษณะยาวและหนาขึ้น รวมถึงเปลื่ยนกระจังหน้าใหม่ เปลื่ยนท่อร่วมไอดีในรุ่น 1.5 โดยตัวอักษรคำว่า ECi-MULTI จะเล็กลง และนำรุ่น 1.3 กลับมาเพื่อตอบสนองลูกค้าระดับล่าง

และต่อมาถึงตาของ TOYOTA COROLLA AE101โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 โฉมนี้ ได้เริ่มมีการผลิตเกียร์ธรรมดา 6 สปีดขึ้น ควบคู่กับการผลิตรถเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 และ 3 สปีด เครื่องยนต์ยังมีระบบดีเซล (2.0 ลิตร) และเบนซิน (1.3 , 1.5 , 1.6 , 1.8 ลิตร) ทันทีที่เปิดตัวในไทย โคโรล่าโฉมนี้ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ยอดการจองรถทะลุ 10,000 คันอย่างรวดเร็วกว่าที่โรงงานคิดไว้มาก และยอดจองยังมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้โรงงานโตโยต้าสำโรงจะเร่งผลิตเต็มที่ งัดแผนสำรองมาใช้ แม้กระทั่งสั่งนำเข้ารุ่น LX Limited จากญี่ปุ่นมา 1,000 คัน และเพิ่มราคาขายคันละ 5,000 บาท เพื่อลดการจองซื้อ ก็ยังไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า จนสุดท้ายต้องมีการก่อสร้างโรงงานโตโยต้าเกตเวย์ สำหรับทำการประกอบรถยนต์นั่งโดยเฉพาะและ5 . Mazda 323 Astina POP-UP

Mazda Astina รุ่นนี้มีเครื่องยนต์และเกียร์ให้เลือกแบบเดียวคือ BPD 1.8 จ่ายน้ำมันด้วยระบบหัวฉีด EGI คู่กับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด 140 แรงม้า ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.6 กก.ม. ที่ 4,700 รอบ/นาที ช่วงล่าง และระบบกันสะเทือนทั้งด้านหน้า และด้านหลังเป็นแบบแมคเฟอร์สันสตรัท อิสระ 4 ล้อ โดยจุดเด่นของระบบช่วงล่างของ Mazda ในสมัยนั้นอยู่ที่ด้านหลัง ที่ Mazda เรียกว่า TTL (Twin Trapezoidal Link) หรือปีนกคู่ พอมาถึงมือวัยรุ่นในยุคนั้นนิยมหาเครื่อง BP 1800 TURBOมายัดแทนเครื่องเดิม

สุดเท่ สุดเปรี้ยว

ท้ายนี้สุดท้ายแล้ว รถยนต์ในยุค 90 นั้นก็ยังมีความขลังมีความเก๋า ในตัวมันเองซึ่งทำให้มันเป็นรถที่อมตะและตลอดไป ไม่มีใครเทียบมันได้ ยังคงเป็นวิ่งที่มีเสน่ห์จนมาถึงทุกวันนี้

Related Posts

formula1

รวมกฎต่าง ๆ ที่ถูกปรับเปลี่ยนใน Formula1 ปี2022

ว่ากันด้วยเรื่องของ Formular1 ถ้าพูดถึงราชารถถนนทางเรียบไม่มีใครไม่นึกถึง รถ Formular1 แต่จะมีใครรู้บ้างว่ากฎการแข่งขันของฟอร์มูล่าวันนั้น ช่างซับซ้อนและเปราะบางเสียซะเหลือเกิน วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปส่องกฎต่าง ๆ ที่ถูกปรับเปลี่ยนใน…

ประกันชั้น 2

ทำไมต้องเลือกซื้อ ประกันชั้น 2

สำหรับรูปแบบกรมธรรม์ประกันรถยนต์ในปัจจุบันอย่างที่ทราบกันดีว่ามีหลากหลายรูปแบบกรมธรรม์ที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงแค่ประกันชั้น 1 เท่านั้นวันนี้ประกันชั้น 2 หรือประกันชั้น 2 พลัสก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันหากคุณเลือกซื้อรูปแบบกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของผู้เอาประกันแล้วก็ถือว่าเป็นช่องทางการชำระเงินหรือเป็นรูปแบบการสร้างเกราะป้องกันให้กับผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดีอีกหนึ่งช่องทาง เอาเป็นว่าถ้าคุณพร้อมแล้วที่จะเลือกซื้อรูปแบบความคุ้มครองประกันรถยนต์ให้กับตัวเองและคนที่คุณรักลองเข้ามาทำความรู้จักกับประกันชั้น 2 ที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบกรมธรรม์ที่น่าสนใจสำหรับใครก็ตามที่อยากได้กราะป้องกันความคุ้มครองในราคาเบี้ยประกันที่ถูกเข้ามาเลือกซื้อและทำความรู้จักกับประกันชั้น…